การแต่งกายขประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิค รวมเกาะใหญ่น้อยราว 3,000 เกาะ ที่สำคัญคือ สุมาตรา ชวา บาลี ชุลาเวสี (เซลีบิส) กาลมันตัน เวสต์อิเรียน เมืองหลวงคือจาร์กาตา อยู่บนเกาะชวา
การทอผ้าแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางการค้าขายติดต่อกับอินเดีย จีน และยุโรป มานาน กว่าร้อยปี ซึ่งความสัมพันธ์นีมี้อิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทักษะพื้น บ้านและวัตถุดิบในการผลิต ผ้า ทอของอินโดนีเซียซึ่งผลิตทั้งผ้าฝ้ายพื้น ๆ ผ้าฝ้ายที่วิจิตร ผ้าทอผสมเส้นใยไหม เส้นทองและเส้น เงิน มีชุดแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำถิ่น
ผ้าทอโบราณของอินโดนีเซียมีหลายชนิด ได้แก่ ผ้ายก (Songket) ผ้ามัดหมี่ มัดหมี่เส้นยืน มัดหมี่เส้นพุ่ง และมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน
Songket หมายถึง ยกดิ้น เงินดิ้น ทองซึ่งผลิตในพาเลมบังมินังคาบัว และสมารินดา
การทอผ้าแบบดั้งเดิมของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียเป็นหมู่เกาะที่อยู่ในเส้นทางการค้าขายติดต่อกับอินเดีย จีน และยุโรป มานาน กว่าร้อยปี ซึ่งความสัมพันธ์นีมี้อิทธิพลต่อวัฒนธรรม ทักษะพื้น บ้านและวัตถุดิบในการผลิต ผ้า ทอของอินโดนีเซียซึ่งผลิตทั้งผ้าฝ้ายพื้น ๆ ผ้าฝ้ายที่วิจิตร ผ้าทอผสมเส้นใยไหม เส้นทองและเส้น เงิน มีชุดแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำถิ่น
ผ้าทอโบราณของอินโดนีเซียมีหลายชนิด ได้แก่ ผ้ายก (Songket) ผ้ามัดหมี่ มัดหมี่เส้นยืน มัดหมี่เส้นพุ่ง และมัดหมี่ทั้งเส้นพุ่งและเส้นยืน
Songket หมายถึง ยกดิ้น เงินดิ้น ทองซึ่งผลิตในพาเลมบังมินังคาบัว และสมารินดา
ชาวอินโดนีเซียใช้ผ้าทอกันมากในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าโสร่ง (ผ้านุ่งผู้หญิง) ผ้าคลุมไหล่ ผ้าสำหรับหุ้มห่อและผูกเด็กเข้ากับตัว ผ้าคลุมผม ผ้ารัดเอว ถุงย่าม
- ผ้าเพเลไพ (Pelepai) หรือผ้าลวดลายเรือจากกลัมปุง ใช้แขวน ประดับ หรือวางตกแต่ง ในงานแต่งงาน และพิธีขลิบปลายองคชาติ
- ผ้าบัว (Pua) จากกาลิมันตัน ใช้แทนผนังในกระท่อมไม้ในงานและพิธีกรรม ซิโดมัคติ (Sidomukti) เป็นผ้ามัดหมี่ ใช้ในงานพิธีแต่งงานเท่านั้น
- ผ้ากริงซิง (Gringsing) ในบาหลี เป็นผ้ามัดหมี่ทั้งเส้นด้ายยืนและเส้นพุ่งใช้ในพิธีแสดง การย่างเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และหนุ่มสาว
- ผ้าเคนทัมพัน (Kain tampan) เป็นผ้าสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นผ้าที่ใช้แลกเปลี่ยนกันระหว่าง ญาติที่เกี่ยวข้องกันเพราะการแต่งงาน
ชาวอินโดนีเซีย แต่งกายโดยการนุ่งโสร่งปาเต๊ะ มาจากมาเลเซีย มีการทำโสร่งปาเต๊ะ หรือบาติก และเครื่องหนังที่ขึ้น ชื่อมาก
ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวพอดี คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็นลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางบ้างดอกบ้าง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องคอเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อ ชาวมาเลเซียจะเป็นคอยู และเสื้อยาว
ผู้ชาย แต่งชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ
การแต่งกายของชาวเกาะมีลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
การแต่งกายประจำชาติของชาวอินโดนีเซีย จะประกอบด้วย ผ้านุ่งพันรอบกายแน่น เรียกว่า กาอิน และเสื้อฟิตแขนยาว เรียกว่า กาบายะ วิธีการนุ่งผ้า และสีของเสื้อจะบอกได้ว่ามาจากส่วนใด ของเกาะ ดังนี้
ผู้หญิง สวมเสื้อแขนยาวพอดี คอแหลม ผ่าหน้าอกเข้ารูปเล็กน้อย ยาวปิดสะโพก เข้ากับ โสร่งที่เป็นลวดลาย ใช้สีสันกันเป็นทางบ้างดอกบ้าง ใช้ผ้ายาว ๆ คล้องคอเช่นเดียวกับชาวมาเลเซีย ต่างกันที่คอเสื้อ ชาวมาเลเซียจะเป็นคอยู และเสื้อยาว
ผู้ชาย แต่งชุดสากล ผูกไทด์ลายผ้าปาเต๊ะ สวมหมวกคล้ายหมวกหนีบ
การแต่งกายของชาวเกาะมีลักษณะต่าง ๆ กัน คือ
การแต่งกายประจำชาติของชาวอินโดนีเซีย จะประกอบด้วย ผ้านุ่งพันรอบกายแน่น เรียกว่า กาอิน และเสื้อฟิตแขนยาว เรียกว่า กาบายะ วิธีการนุ่งผ้า และสีของเสื้อจะบอกได้ว่ามาจากส่วนใด ของเกาะ ดังนี้
- อัตเจ (สุมาตราเหนือ) เป็นพิธีการ ใช้เสื้อสีแดง กางเกงยาวสีดำ มีโสร่งนุ่งทับอีกทีหนึ่ง รัดเข็มขัด
- ตาปานะลี (สุมาตรากลาง) สวมเสื้อแขนยาว บายุกูรุง
- มินังกาโน (สุมาตราตะวันตก) สวมเสื้อบางยุกูรุง แขนยาว นุ่งโสร่ง มีสไบเฉียง ใช้ผ้า โพกศีรษะคล้ายรูปกระบือ
- ปาเล็มปัง (สุมาตราใต้) เหมือนบายุกูรุง
- ปันยาร์ (กาลิมันตัน) ในพิธีต่าง ๆ ผ้านุ่งสีแดง เสื้อแดงแขนยาว เสื้อ อยู่ในโสร่ง มี เครื่องประดับเพชร นิล จินดา
- เมอนาโด (ซูลาเวลีเหนือ) ส่วนมากนับถือคริสต์ ต้องไปโบสถ์เสมอ จึงมักสวมเสื้อสีขาว ปักดอกที่ชายเสื้อ
- มากาซาร์ (ซูลาเวลีใต้) เรียกชุดว่า “มายุโบโตะ” สาวอินโดนีเซียนิยมกันมาก วัยรุ่น นิยมสีชมพู และสีแดง ผู้ใหญ่จะใช้สีเขียวมีแถบทอง
- อัมบอน (มาลูกุ) เหมือนชุดสุมาตร แต่สีขาว
- ติมอร์ ตามประเพณีต้องสวมโสร่ง ห่มสไบเฉียง มีลายเส้นสีทอง และเงิน
- บาหลี สวมโสร่ง มีเครื่องประดับศีรษะเป็นคอกลั่นทม
- อีเรียนชยา แต่งกายด้วยสีเหลือง ผ้านุ่งสีเขียว มีขนนกบนศีรษะ
นางสาวฐิดารารัตน์ สิทธิ ม.4/4 เลขที่ 12
http://www.baanjomyut.com/library_2/history_of_costume/07_6.html